สไตล์การตกแต่ง
สไตล์การตกแต่ง นอร์ดิกกับตะแกรงเหล็กฉีก สยามเพียเลส โดยสถาปนิกผู้ชำนาญการ ใส่ทุกรายละเอียดส่งต่อผลงานอันล้ำค่าเป็นนโยบายของเรา ที่จะสร้างสรรค์ผลงานการควบคุมงานออกแบบวัสดุอุปกรณ์รวมถึงการผลิตผลงานด้วยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
Nordic คือ ยุโรปเหนือ หรือบางคนเรียกว่า "สแกนดิเนเวีย"ประกอบไปด้วย 5 ประเทศ ดังนี้
1. ฟินแลนด์ ( Finland )
2. สวีเดน ( Sweden )
3. นอร์เวย์ ( Norway )
4. เดนมาร์ก ( Denmark )
5. ไอซ์แลนด์ ( Iceland )
Nordic style จุดกำเนิด ต้นกำเนิด ปี ค.ศ.1930
จุดกำเนิดของ ศิลปะ แบบ นอร์ดิก ( Nordic ) เริ่มต้นในยุค ศิลปะ ยุค Modern ราวๆ ค.ศ. 1930 โดย อิทธิพลที่ทำให้เกิดศิลปะสไตล์นี้คือ วิถีชีวิต ของชาวนอร์ดิก ที่ใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว และพยายามเข้าหาธรรมชาติ
Nordic style Characteristics ลักษณะเฉพาะของ Nordic
โดยลักษณะ หรือเอกลักษณ์ ของ การตกแต่งศิลปะสไตล์นี้ คือ
- ใช้ทรงจั่วในการออกแบบ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก อาคารที่พักอาศัย
- การออกแบบ พื้นที่ใช้สอยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามแบบการออกแบบ แบบ Modern
- เน้นใช้วัสดุธรรมชาติ วัสดุพื้นถิ่นที่หาได้ง่ายจากถิ่นที่อยู่นั้นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
- ใช้รูปทรงธรรมชาติในการออกแบบ เพราะต้องการเข้าหาและเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
- เน้นการใช้โทนสีสว่างดูสบายตา เช่น ขาวอ่อน ฟ้าอ่อน เทาอ่อน และมุมอาจใช้สีน้ำตาลอ่อน เพื่อให้รู้สึกอบอุ่นมากยิ่งขึ้น
- เน้นการใช้วัสดุตกแต่งที่ดูนุ่ม โปร่ง สบาย เพื่อให้บรรยากาศในห้องดูผ่อนคลาย
Nordic style trend การตกแต่ง style Nordic ที่นิยม
สไตล์การตกแต่งที่ได้รับความนิยมของ ศิลปะสไตล์ Nordic นั้น มีดังนี้
- ใช้จั่วในการออกแบบ ส่วนใหญ่เน้นการใช้ส่วนนี้ขึ้นเป็นส่วนหลักของอาคาร
- นิยมใช้ไม้ทาสีน้ำมัน เพราะต้องการโชว์พื้นผิวจริงๆของไม้ หรือ เรียกว่า สัจจะวัสดุ
- ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวกล้อม หรือ Environmentally Friendly Products เพราะต้องการรักษาธรรมชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาวนอร์ดิกไว้
- มีเตาผิง ตกแต่งเป็นลูกเล่น บางทีอาจเป็นเตาผิงปลอม เพื่อ เลียนแบบ ลักษณะการใช้ชีวิตของชาว นอร์ดิก
- ใช้ไม้โทนสว่าง ในการตกแต่ง เพื่อที่จะทำให้รู้สึกอบอุ่น
- ใช้โทนสีสว่างดูสบายตา เช่น ขาวอ่อน ฟ้าอ่อน เทาอ่อน ในการตกแต่ง โดยเฉพาะสีขาว
- ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ สไตล์ Minimal
Nordic style in Thailand การตกแต่ง Style Nordic ในประเทศไทย
การตกแต่ง สไตล์ Nordic ในประเทศไทยนั้น กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คล้าย สไลต์ Modern แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะมากกว่า ยกตัวอย่าง โครงการหมู่บ้านจัดสรร ของ บางกอกบูเลอร์วาร์ด พระราม9 ที่ได้มีการนำจั่ว โทนสี และเฟอร์นิเจอร์ สไตล์ Minimal เข้าไปตกแต่ง
Nordic style การออกแบบตกแต่งอาคาร style Nordic
อาคารโดยทั่วไป ที่ตกแต่ง สไตล์ นอร์ดิก ลักษณะเด่นที่เห็นชัด คือ มีการใช้ จั่ว และ เฟอร์นิเจอร์สไตล์ Mininal รองลงมาจะเป็นสีที่ใช้ ้เพราะจากภาพส่วนใหญ่ ยังมีอาคารบางส่วนที่ยังใช้สี สไตล์ Modern อยู่ เช่น สีดำ ดังนั้น ตัวกำหนด Concept หลัก ของการทำให้เป็นงานสไตล์ Noedic คือการใช้ จั่วและเฟอร์นิเจอร์สไตล์ Mininal
Nordic style trend การตกแต่ง style Nordic ด้วย ตะแกรงเหล็กฉีก
การใช้ตะแกรงเหล็กฉีกกับการตกแต่งอาคารนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ และสามารถใช้ตะแกรงเหล็กฉีกได้หลายรุ่น และสามารถเป็นได้หลาย Fuction ยกตัวอย่างจากรูป
รูปที่ 1.เป็นการใช้ตะแกรงเหล็กฉีก รุ่น XS-32 SP นำไปตกแต่งบริเวณด้านบนหน้าอาคาร ซึ่งเข้ากันได้ดี กับตัวอาคาร ด้วยขนาดตาที่ไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป และเน้นพื้นที่บริเวณด้านบนของอาคาร เพื่อความสวยงามและสามารถบังแดดได้อีกด้วย
รูปที่ 2. เป็นการใช้ตะแกรงเหล็กฉีก รุ่น XS-43 SP นำมาตกแต่งบริเวณเพดานและหน้าอาคาร ทำให้เห็นเป็นอีกพื้นผิวซึ่ง สามารถสร้างมิติให้พื้นที่ได้มากขึ้น
รูปที่ 3. เป็นการใช้ตะแกรงเหล็กฉีก รุ่น XS-31 SP นำมาตกแต่งบริเวณ ข้างหลังบ้านทำให้เพิ่มมิติการมองเห็นตัวอาคารและความสวยงามเพิ่มขึ้น และยังไม่ทำให้ตัวอาคารดูแบนเกินไป
Nordic style with Siampeerless การตกแต่ง style Nordic กับสยามเพียเลส Shop
ร้าน Coffee shop Beverly basary
ร้าน Coffee shop Berverly basary บริเวณ ซอยพหลโยธิน 10 นั้นได้จ้างทำชิ้้นงาน อยู่ 2 ส่วนกับ Siampeerless คือ
1. ผนังตกแต่ง
รายละเอียดชิ้นงาน
อุปกรณ์ในการขึ้นชิ้นงาน
- ตะแกรงเหล็ก XS-42 SP
- เหล็กกล่อง 2" x 1"
- Flat bar 1 1/2"
- เหล็กฉาก 1 1/2" x 1 1/2"
- สีดำด้าน
2. เก้าอี้นั่ง
รายละเอียดชิ้นงาน
อุปกรณ์ในการขึ้นชิ้นงาน
- ตะแกรงเหล็ก XS-42 SP
- Flat bar 2"
- เหล็กฉาก 2" x 2"
- สีดำด้าน
-อุปกรณ์ติดตั้งบานพับ
ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้นั้นนั้น ทาง Siampeerless ได้ ทำการ ออกแบบ ผลิต ติดตั้ง ให้ครบแบบ One stop service ด้วยการมี concept ชิ้นงานที่ เป็นสไตล์ Nordic ที่เน้นสัจจะวัสดุ และคุมโทนสีเป็นสีดำด้าน ที่ให้ความรู้สึกของพื้นผิวของเหล็ก นั้นเอง